26 มิถุนายน 2527
คณะรัฐมนตรีมีมติ ให้กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกันพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวกับการจะนำหลักสูตรและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ของโรงเรียนในสังกัดกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มาเรียนและสอนเพิ่มเติมในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย
18 พฤศจิกายน 2528
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชวน หลีกภัย) ได้ทำหนังสือ ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) เรื่องการพิจารณายุบเลิก โรงเรียนที่สอนนักเรียนเพื่อออกมาปฏิบัติงานของ กระทรวง ทบวง กรมใด ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งในหนังสือดังกล่าว ได้ระบุถึงมติที่ประชุมกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ประชุมมีมติรับหลักการให้ กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาสถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง ที่สามารถจัดการเรียน การสอนขึ้นทดแทนได้ดังนี้
1. โรงเรียนสัตวแพทย์ (กรมปศุสัตว์) ประวัติโรงเรียนสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์
2. สถาบันศึกษาทางสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
3. โรงเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
4. สถาบันอบรมวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
และในตอนท้ายของหนังสือนั้นได้อ้างถึงมติที่ประชุมทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20, 21 และ 24 มิถุนายน 2528 เกี่ยวกับการพิจารณาการยุบโอน สถานศึกษา โดยวางแนวทางไว้ 3 ประการ คือ ความพร้อมของสถาบันผู้รับ ความประหยัดในการจัดการเรียนการสอน และหน่วยงานที่รับต้องมีแผนการ เรียนการสอนอยู่แล้ว และหากหน่วยงานใดต้องการจะเป็นสถาบันสมทบของ สถาบันในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยก็อาจพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
24 ธันวาคม 2528
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (นายปรีดา พัฒนถาบุตร) ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นายอนันต์ อนันตกูล) เรื่อง การพิจารณายุบเลิกสถานศึกษา นอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยโดยเนื้อหาของหนังสือสรุปได้ว่า ทบวงมหาวิทยาลัย ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาคือ
1. ให้มหาวิทยาลัยและสถาบันในสังกัดมหาวิทยาลัยรับเป็นสถาบันสมทบหรือ มีการสมทบในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง หากสถานศึกษานั้น ๆ มีความประสงค์
2. ให้สถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยระงับการเปิด หลักสูตรใหม่ ยกเว้นหลักสูตรเฉพาะทางตามความต้องการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยไม่สามารถผลิตให้ได้
3 มกราคม 2529
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงศึกษาธิการและ ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอว่า ให้พิจารณายุบโอนสถาบันการศึกษาที่สังกัด หน่วยงานนอกกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนรายละเอียด และขั้นตอนการดำเนินงานให้กระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้องทำความตกลง กับกระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาวิทยาลัยต่อไป โดยให้ถือเอาความ ต้องการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในโรงเรียนหรือ สถาบันการศึกษานั้น ๆ เป็นหลัก ส่วนหลักสูตรขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ แขนงวิชาต่าง ๆ ให้ขอรับความเห็นชอบจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ ทบวงมหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี และหากหน่วยงานใดต้องการจะเป็นสถาบัน สมทบในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ก็อาจพิจารณาต่อไปได้
17 สิงหาคม 2534
ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ (ดร.อาชว์ เตาลานนท์) ได้ให้ นโยบายกับกรมปศุสัตว์ในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนสัตวแพทย์ โดยให้ ยกระดับการศึกษาจากประกาศนียบัตรวิชาสัตวแพทย์ (2 ปี) เป็นระดับ ปริญญาตรี (4 ปี) โดยเข้าเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
16 ธันวาคม 2534
สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติให้รับโรงเรียนสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ในการประชุมสภาฯ ครั้งที่ 12/2534) โดยให้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นระดับปริญญาตรี สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์หรือวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์ ตามความเหมาะสม โดยจัดหาหลักสูตรร่วมกันระหว่างกรมปศุสัตว์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนาคณะเทคนิคการสัตวแพทย์)
15 มีนาคม 2536
สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติให้รับรองหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการสัตวแพทย์) ของสถาบันสมทบโรงเรียนสัตวแพทย์ และให้เปิดสอนนิสิตรุ่นแรกได้ในปีการศึกษา 2536
17 กันยายน 2536
กรมปศุสัตว์ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงการจัดตั้งโรงเรียนสัตวแพทย์ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ {ระหว่างอธิบดีกรมปศุสัตว์ (นายทวีศักดิ์ เสสะเวช) กับอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (นายกำพล อดุลยวิทย์)} ที่โรงแรมเมอริเดียน เพรสซิเด้นท์
14 กุมภาพันธ์ 2537
ทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ (หลักสูตร พ.ศ. 2536)
10 มีนาคม 2537
ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการรับโรงเรียนสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็น สถาบันสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2537 โดยประกาศในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนพิเศษ 16 ง. วันที่ 23 มีนาคม 2537
8 พฤษภาคม 2538
กรมปศุสัตว์ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสัตวแพทย์ เป็นวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนชื่อตามแผนพัฒนากำลัง ปี 2537-2539
18 มีนาคม 2540
ได้มีประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการรับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็นสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2540 โดยประกาศในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 22 ง. วันที่ 12 มีนาคม 2540
30 มิถุนายน 2542
กรมปศุสัตว์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ลงนาม “ข้อตกลงการโอนการบริหารงานของวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ให้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โดยมีสาระสำคัญคือ
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมปศุสัตว์ ตกลงให้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็นหลักสูตรหนึ่งของคณะสัตวแพทยศาสตร์
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมปศุสัตว์ ได้ตกลงให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ รับผิดชอบบริหารหลักสูตร บุคลากร งบประมาณและพัสดุที่เกี่ยวกับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ ได้ก่อนที่การโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วน ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปเป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
13 มกราคม 2543
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคำสั่ง มอบอำนาจให้คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี ในการบริการหลักสูตร บุคลากร งบประมาณ และพัสดุ ที่เกี่ยวกับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์
28 พฤศจิกายน 2543
กรมปศุสัตว์ มีหนังสือถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ขอตัวข้าราชการ 4 อัตรา ของวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่กรมปศุสัตว์
26 กรกฎาคม 2544
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนังสือถึง กรมปศุสัตว์ เรื่อง ให้ข้าราชการไป ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่กรมปศุสัตว์ /ส่งตัวข้าราชการ 4 อัตรา ของวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการที่กรมปศุสัตว์ ตามความประสงค์ของ กรมปศุสัตว์ โดยขอให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการที่วิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ จนสิ้นสุดการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1/2544 (เดือนตุลาคม 2544)
20 สิงหาคม 2545
ทบวงมหาวิทยาลัยเห็นชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545)
14 กุมภาพันธ์ 2546
คณะสัตวแพทยศาสตร์ กับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ ทำข้อตกลงความร่วมมือ กันทางด้านวิชาการ และการบริการ
12 มิถุนายน 2546
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ กรมปศุสัตว์ ทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบัณฑิตเทคนิคการสัตวแพทย์, สนับสนุนวิชาการ และการสนับสนุน รับเข้าไปปฏิบัติงานในตำแหน่งและสายงานที่เกี่ยวข้อง และยกเลิกการจัดตั้ง โรงเรียนสัตวแพทย์ที่เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับลงวันที่ 17 กันยายน 2536 เพื่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาจัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ เป็นคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ต่อไป
29 ตุลาคม 2546
พระราชกฤษฎีกา รับวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ เข้าเป็นสมทบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 106 ก วันที่ 29 ตุลาคม 2546
6 กุมภาพันธ์ 2549
ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณบดี ในการประชุมครั้งที่ 2/2549 เรื่อง ขออนุมัติยกฐานะจากวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ ขึ้นเป็น คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ และให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อพิจารณา
20 กุมภาพันธ์ 2549
ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติยกฐานะวิทยาลัยเทคนิคการสัตวแพทย์ ขึ้นเป็น คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ในการประชุมครั้งที่ 2/2549
26 เมษายน 2549
ได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง จัดตั้งคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ ขึ้นเป็น หน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
31 ตุลาคม 2549
ได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในคณะเทคนิคการสัตวแพทย์
31 พฤษภาคม 2566
ได้มีประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การปรับโครงการสร้างหน่วยงานภายในคณะเทคนิคการสัตวแพทย์